วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ดาวเคราะห์ดวงใหม่

ดาวเคราะห์ดวงใหม่

โดยนักดาราศาสตร์ได้อธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดของดาวดวงดังกล่าวว่า นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบและจับตาดูการเคลื่อนไหวของดาวดวงหนึ่งชื่อ กลีส 581 จี (Gliese 581g) ที่โคจรรอบดาวฤกษ์สีแดงที่เรียกว่า กลีส 581 (Gliese 581) ที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 20 ปีแสง หรือ 190 ล้านล้านกิโลเมตร ซึ่งดาวกลีส 581 จี ดวงนี้อยู่ในอวกาศเขตโกลดิล็อกส์โซน (Goldilocks zone) ซึ่งเป็นเขตที่มีอุณหภูมิไม่ร้อนและไม่เย็นเกินไป คืออุณหภูมิในชั้นบรรยากาศอยู่ระหว่าง -31 ถึง -12 องศาเซลเซียส และด้วยความที่มันหมุนรอบตัวเองช้ามาก ทำให้พื้นผิวมันมีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน คือประมาณ 70 องศาเซลเซียสสำหรับด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ของมัน และประมาณ -4 องศาเซลเซียสสำหรับด้านที่หันออกจากดวงอาทิตย์ของมัน ซึ่งถือว่าเป็นอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิบนโลกมากที่สุด และสิ่งมีชีวิตสามารถอยู่ได้
        สำหรับขนาดของมัน จะใหญ่กว่าโลกเล็กน้อย และอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก โดย กลีส 581 จี  อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ของมันเพียง 22.5 ล้านกิโลเมตรเท่านั้น ขณะที่โลกเราห่างดวงอาทิตย์ของเราถึง 150 ล้านกิโลเมตร ซึ่งนั่นส่งผลให้ กลีส 581 จี ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์เพียง 37 วันเท่านั้น ขณะที่โลกใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ถึง 1 ปี

        ทั้งนี้ นักดาราศาสตร์ยังเปิดเผยอีกว่า นี่เป็นการค้นพบดาวดวงใหม่ที่แตกต่างจากทุก ๆ ครั้ง เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวดวงใหม่มาแล้วมากกว่า 400 ดวง ซึ่งแต่ละดวงก็มีลักษณะเหมือนกับดาวพฤหัส คือเป็นดาวที่รวมตัวกันจากแก๊สขนาดยักษ์ ซึ่งสิ่งมีชีวิตอยู่ไม่ได้อย่างแน่นอน การค้นพบ กลีส 581 จี จึงถือว่าเป็นการค้นพบที่น่ายินดี เพราะมันมีลักษณะใกล้เคียงกับโลกมากเลยจริง ๆ

1 ความคิดเห็น:

  1. เพิ่มเนื้อหา ข้อมูลเข้าไปวันละเรื่องสองเรื่องเดี๋ยวก็เยอะเองนะ ขอให้โชคเอ

    ตอบลบ